วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปรับปฏิทินสอบแอดมิชชั่น เริ่มปี′57 ขยับสอบเดือน มค. รับ AEC

ปรับปฏิทินสอบแอดมิชชั่น เริ่มปี′57 ขยับสอบเดือน มค. รับ AEC



มติที่ประชุมอธิการบดีฯ เลื่อนปฏิทินแอดมิชชั่น เริ่มปี 2557 เริ่มสอบวิชาสามัญเป็นเดือน ม.ค. เลื่อนช่วงเปิดเทอมเป็น ส.ค.- ก.ย. เพื่อให้ตรงกับสมาชิกอาเซียน สภาวิชาชีพพร้อมขยับเวลาสอบใบอนุญาตฯ แพทยสภายังติดปัญหาการฝึกงานแพทย์ แต่คาดเคลียร์ปัญหาได้

จากการประชุมสามัญที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่มหาวิทยาลัยบูรพา นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธาน ทปอ. เปิดเผยผลการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติปรับเปลี่ยนปฏิทินการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง การรับนิสิต นักศึกษา หรือ แอดมิชชั่น ปีการศึกษา 2557 ให้สอดคล้องกับการเลื่อนการเปิดภาคเรียนของสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อสอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยจะเปิดภาคเรียนที่ 1 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 ช่วงระหว่างวันที่ 15 ส.ค.-15 ก.ย. จึงต้องปรับตารางการสอบคัดเลือกต่างๆ ให้สอดคล้องกัน

โดยการสอบวิชาสามัญ 7 วิชา จะสอบวันที่ 25-26 ม.ค.2557,
GAT / PAT ครั้งที่ 1/2557 สอบเดือน มี.ค.57 ประกาศผลวันที่ 10 เม.ย.57,
GAT/PAT ครั้งที่ 2 สอบ 10-13 พ.ค.57 ประกาศผลวันที่ 7 มิ.ย.57,
ยืนยันสิทธิเข้าศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริงเฮาส์ วันที่ 6-11 พ.ค.57
สอท.แจ้งรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิผ่าน เคลียริงเฮาส์ทั้งตัดสิทธิแอดมิชชั่นกลาง วันที่ 19 พ.ค.57
การจำหน่ายระเบียบการคัดเลือกฯ วันที่ 5-18 มิ.ย.
รับสมัครวันที่ 8-18 มิ.ย. ชำระเงินค่าสมัคร 8-20 มิ.ย.
ตรวจสอบคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก 28-30 มิ.ย.
ประกาศผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ และตรวจร่างกาย 4 ก.ค.
สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายระหว่างวันที่ 14-16 ก.ค.

นอกจากนี้ ทปอ.ยังได้หารือสภาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้มีการปรับเวลาการสอบ รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของนิสิตนักศึกษาให้สอดคล้องกัน ซึ่งจากการหารือพบว่าสภาวิชาชีพส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาและพร้อมจะปรับเวลาสอบใบประกอบวิชาชีพ ส่วนสภาวิชาชีพที่ยังไม่ลงตัว คือ แพทยสภา เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการฝึกงานของแพทย์ในสถานพยาบาลต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างไม่มีแพทย์ฝึกหัดในสถานพยาบาลต่างๆ ประมาณ 3 เดือน คือช่วงเดือน พ.ค., มิ.ย. และ ก.ค. ซึ่งคาดว่า แพทยสภา จะสามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้

                                                                              ข่าวจาก ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย

ปัญหาครูไทยในปัจจุบัน คศ 3 คศ 4 ควรฟัง

ลักษณะครูที่ดี



“ความเปนครูนั้ นประกอบขึ้ นดวยสิ่ งที่มี คุ ณคาสูงหลายอยาง 
อยางหนึ่ ง ไดแก ปญญา คือความรูที่ดี ที่ ประกอบดวยหลักวิชาอันถูกตอง 
ที่แนนแฟนกระจางแจงในใจ รวมทั้ งความฉลาดที่ จะพิจารณาเรื่ องตาง ๆ 
ตลอดจนกิจที่ จะทํา คําที่ จะพูดทุกอยางได โดยถูกตอง ดวยเหตุผลอยางหนึ่ ง
ไดแก ความดี คื อ ความสุจริ ต ความเมตตากรุณา เห็ นใจและปรารถนาดี 
ตอผูอื่ นโดยเสมอหนา  อีกอยางหนึ่ งไดแก ความสามารถ ที่จะเผื่ อแผ
และถายทอดความรู ความดีของตนเองไปยังผูอื่ น
อยางไดผล ความเปนครูมี อยู แล ว  ยอม ฉายออกให ผู อื่นได 
รั บประโยชนด วย........ผู ที่มีความเปนครูสมบูรณในตั ว 
นอกจากจะมีความดี ดวยตนเองแลว ยังจะชวยให
ทุ กคนที่มี โอกาสเขามาสัมพันธเกี่ ยวของบรรลุ
ถึ งความดีความเจริญไปดวย” 

พระราชดํารัสพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหั วรัชกาลปจจุบั น 

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บทบาทและหน้าที่ของครูที่ปรึกษา

บทบาทและหน้าที่ของครูที่ปรึกษา
1. มีความสามารถที่ข้าใจกับนักเรียน นักศึกษาและบุคคลต่างๆได้ดี โดยเฉพาะสามารถ เข้าถึงนักเรียน นักศึกษาได้ดีด้วย ความสนิทสนมและมีความเป็นกันเองกับนักเรียน นักศึกษา
2. มีประสบการณ์ในการสอนมาพบสมควร และมีความรู้ในจิตวิทยาวัยรุ่นพอสมควร
3. เป็นผู้มีศีลธรรม มีความเห็นอกเห็นใจ มีเหตุผล มีความจริงใจต่อผู้อื่น
4. ควรเป็นผู้มีอารมณ์ดี และอารมณ์หนักแน่น
5. เป็นผู้เอาการเอางาน มีความมานะพยายาม และมีความตั้งใจทำงาน
6. มีศิลปะในการพูด
คุณลักษณะที่ดีของครูที่ปรึกษา
1. มีความเข้าใจคน
2. มีความเป็นมิตร
3. มีอารมณ์ขัน
4. มีความมั่นคง ไม่รวนเร
5. มีความอดทน
6. มีสีความตรงไปตรงมา ยุติธรรม
7. มีความจริงใจ
8. มีศิลปะในการติดต่อผู้อื่นและงานอย่างมีกลเม็ด
9. มีความเมตตากรุณา
10. มีไหวพริบเฉลียวฉลาด
งานในหน้าที่ของครูปรึกษา
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร เผนกการเรียน ระบบ การจัดการศึกษาและการ ประเมินผลระดับต่างๆที่มีการจัดการเรียน การสอนในสถานศึกษา ตลอดจนระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน นักศึกษา เช่น การเก็บเงินบำรุงการศึกษา
2. อธิบายและชี้แจงให้นักเรียน นักศึกษาทราบและเข้ใจตั้งแต่ต้นปีว่า วิชาที่นักเรียน นักศึกษาจะต้องเรียนมีอะไรบ้าง แต่ละวิชาที่นักเรียน นักศึกษาจะต้องเรียนในปีการศึกษานั้นๆมีประโยชน์แก่นักเรียน นักศึกษาอย่างไร ทั้งในคณะที่เรียนและอนาคต
3.รวบรวมรายระเอียดเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษาในกลุ่มที่ตนรับผิดชอบไว้เพื่อประโยชน์ในการให้คำปรึกษา หรือช่วยให้นักเรียน นักศึกษา - เกิดความรู้ศึกสบายใจ ไม่ว้าเหว่ มีผู้เป็นที่พึ่ง - เข้าใจตนเองและเข้าใจปัญหาของตนดีขึ้น - รู้จักคิดแก้ปัญหาของตนได้ มีความรอบครอบใคร่ครวญดีขึ้น - มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
4. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนการเรียน และ ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการสอน หรือการเพิ่มรายวิชาเรียน
5. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาการเรียน แนะนำเกี่ยวกับการเรียน การสอน วิธีเรียนการเตรีมสอบ ฯลฯ
6. ดูแลให้คำแนะนำการประพฤติ
7. ให้คำแนะนำและดูแลเกี่ยวกับการมาเรียน การปรับตัว ตลอดจนปัญหาทุกข์สุขของนักเรียน นักศึกษาในชั้น
8. ติดตามดูแลการเรียนของนักเรียน นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
9. พบนักเรียน นักศึกษาในความดูแลอย่างสม่ำเสมอ จัดหาเวลาเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนและปัญหาส่วนตัวเป็นรายบุคคล
10. ติดต่อผู้ปกครองเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน นักศึกษารวมทั้งรายงานความประพฤติผลการเรียน และปัญหาของนักเรียน นักศึกษาให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขเท่าที่จะกระทำได้
11. ประสานงานกับฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายแนะแนวฯ ฝ่ายปกครอง และครูประจำรายวิชา ในกรณีที่นักเรียน นักศึกษามีปัญหา
หลักในการช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา
1. พยายามชี้ให้เห็นชัดว่าปัญหาของนักเรียนนักศึกษาคืออะไร
2. พยายามให้นักเรียน นักศึกษามองปัญหาอย่างรอบครอบ ไตร่ตรอง และพินิจวิเคราะห์
3. ช่วยให้นักเรียน นักศึกษามองปัญหาอย่างลึกซึ้ง สร้างทัศนะคติที่ดีเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ
4. ครูต้องทำให้นักเรียน นักศึกษาตัดสินใจเองว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร จะสามารถวางแผนแก้ปัญหาอย่างไรและจะปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆเพื่อแก้ปัญหาอย่างไร

หน้าที่ของครูที่ปรึกษา



1. ให้คำปรึกษา แนะนำการทำ และตรวจสอบหลักฐานการเป็นนักศึกษา
2. ปฐมนิเทศนักเรียน นักศึกษา ในการลงทะเบียนวิชาเรียน
3. ให้ความรับผิดชอบแก่นักเรียน นักศึกษา ในการลงทะเบียนวิชาเรียน การขอเปลี่ยนขอเพิ่มและถอนรายวิชาเรียน
4. ให้คำปรึกษาและความเห็นในการขอผ่อนชำระเงินค่าละทะเบียนรายวิชาของนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบ
5. จัดทำ เก็บรวบรวมประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และประวัติความประพฤติเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ ติดตามผลการเรียนและดูแลความประพฤติของนักเรียน
6. ติดตาม ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมตามที่กำหนดไว้ ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการประเมินผลการเรียนในแต่ละระดับแก่นักเรียน นักศึกษา ผู้นั้นจบการศึกษา
7. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน การคำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลี่ย แก่นักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
8. แนะนำหาทางป้องกัน และติดตามนักเรียน นักศึกษา ที่ขาดเรียน
9. เสนอความเห็น และข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดรายวิชาในการลงทะเบียน แต่ละภาคเรียน
10. ติดต่อประสานงานกับผู้ปกครอง พร้อมทั้งรายงานการเรียนและความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
11. ติดตามแนะนำและช่วยแก้ปัญหา ให้นักเรียน นักศึกษา ที่ขอผ่อนผันการชำระเงินค่าลงทะเบียนรายวิชาก่อนวันสอบปลายภาคเรียน และรายงานให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยทราบ
12. ให้คำปรึกษา ตักเตือนดูแล แก้ไข และปรับปรุงความประพฤติของนักเรียน นักศึกษา ที่อยู่ในความรับผิดชอบ