วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556

มติ ครม.แก้ ก.ม.กบข.ให้ ขรก.เลือกวิธีรับบำนาญ

สรุปมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
- อนุมัติร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ครม.มีมติเห็นชอบในหลักการตามร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวมทั้งเห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณเข้าบัญชีเงินสำรองเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับภาระการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และเพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ข้าราชการและผู้รับบำนาญ จึงเห็นชอบให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว รวมทั้งเงินบำนาญส่วนเพิ่ม จากการดำเนินการตามแนวทางที่ให้ข้าราชการและผู้รับบำนาญซึ่งเป็นสมาชิก กบข.โดยสมัครใจสามารถเลือกกลับไปรับบำนาญตามระบบเดิม
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... การแก้ไขปัญหาสมาชิก กบข. ในเรื่องบำนาญ มีดังนี้
๑) ข้าราชการ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และสมัครเป็นสมาชิก กบข.)
(๑) สมาชิก กบข.ซึ่งประสงค์จะกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ และให้ถือว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลง ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗
(๒) ผู้ซึ่งจะต้องออกจากราชการไม่ว่ากรณีใดๆ ยกเว้นกรณีถึงแก่ความตาย ก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้สมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงเมื่อวันออกจากราชการ
(๓) การแสดงความประสงค์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ หรือวันออกจากราชการ และให้มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ทั้งนี้ การแสดงความประสงค์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
(๔) ข้าราชการตามข้อ (๑)-(๓) ไม่มีสิทธิได้รับเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว โดยให้ กบข.ส่งเงินดังกล่าวเข้าบัญชีเงินสำรอง สำหรับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว กบข.จะจ่ายคืนให้แก่ข้าราชการผู้นั้น
(๕) การส่งเงินเข้าบัญชีเงินสำรองและการจ่ายคืนเงินสะสมและผลประโยชน์ให้เป็นไป ตามที่ กบข. กำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะกำหนดให้ กบข. นำเงินประเดิม เงินสมทบ เงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวที่ได้รับคืนจากสมาชิกส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง ทั้งนี้ กบข. จะต้องจัดทำรายงานการนำเงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวส่งเข้าบัญชีเงินสำรองต่อกรมบัญชีกลาง ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ กบข. จะต้องรายงานให้กรมบัญชีกลางทราบ
(๖) หากข้าราชการซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ หรือก่อนวันออกจากราชการ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ
๒) ผู้รับบำนาญ (สมาชิก กบข. ซึ่งเข้ารับราชการก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และสมัครเป็นสมาชิก กบข. แต่ได้ออกจากราชการแล้ว)
(๑) หากประสงค์จะขอกลับไปรับบำนาญตามสูตรเดิม (พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔) ให้แสดงความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ และผู้รับบำนาญจะต้องคืนเงินก้อน (เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว) ที่ได้รับไปแล้วแก่ทางราชการ โดยผู้รับบำนาญจะได้รับบำนาญตามสูตรเดิม ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ โดยวิธีหักกลบลบกัน
(๒) การหักกลบลบกัน หากมีกรณีที่ผู้รับบำนาญต้องคืนเงิน ให้ผู้รับบำนาญคืนเงินแก่ส่วนราชการผู้เบิกภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ เพื่อนำส่งให้กรมบัญชีกลาง โดยเงินที่ส่วนราชการได้รับคืน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วย วิธีการงบประมาณ หากมีกรณีที่ต้องคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ กรมบัญชีกลางจะคืนเงินให้ผู้รับบำนาญ หากมีเงินเหลือจะนำส่งเข้าบัญชีเงินสำรอง
(๓) ผู้รับบำนาญที่ได้แสดงความประสงค์แล้ว เป็นผู้รับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.๒๔๙๔ ตั้งแต่วันที่ออกจากราชการ แต่หากผู้รับบำนาญมีกรณีที่ต้องคืนเงิน ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗ จึงจะได้รับสิทธิดังกล่าว
(๔) หากผู้รับบำนาญซึ่งได้แสดงความประสงค์ไว้แล้วถึงแก่ความตายก่อนวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ให้ถือว่าการแสดงความประสงค์นั้นไม่มีผลใช้บังคับ และหากมีกรณีต้องคืนเงินให้ส่วนราชการผู้เบิกแจ้งกรมบัญชีกลางเพื่อถอนเงิน ที่ผู้รับบำนาญคืนให้แก่ส่วนราชการผู้เบิก เพื่อคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด จะกำหนดเรื่องการดำเนินการถอนเงินคืนให้แก่ผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบำนาญ ที่ตายไปก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับ

ที่มา : เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ.เพิ่มความเข้มระบบดูแลนักเรียน

ดร.ชิน ภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการตรวจราชการจากผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ สพฐ.หยิบยกหารือที่ประชุม คือการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเข้มแข็งและมีกลไกที่จะช่วย ดูแล รวมทั้งคัดกรองและส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีข้อมูลผลการคัดกรองนักเรียนและข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า ขณะนี้ภาพรวมของเด็กที่อยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีเด็กกลุ่มพิเศษที่ ต้องดูแลพิเศษจำนวนถึง 20% แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือแอลดี 10-15%, 2.กลุ่มเด็กสมาธิสั้น 8%, 3.กลุ่ม เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ 5% 4.กลุ่มเด็กออทิสติก พบ 1 ใน 88 คน คิดเป็น 1.13% และ 5.กลุ่มที่มีความพิการทางกายภาพ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ร่างกายพิการ และยังบกพร่องทางสติปัญญา 2%

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ให้ สพฐ.ทราบว่าการพัฒนาระบบดูแลและช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญ การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยไม่ได้ดูที่ต้น เหตุปัญหาจะทำให้แก้ไขได้ยาก จึงต้องเริ่มค้นหาสาเหตุปัญหาและแก้ไขตั้งแต่แรก ดังนั้น ในปีการ ศึกษา 2556 สพฐ.จะยกระดับความเข้มข้นของระบบการดูแลนักเรียน โดยที่ประชุมเสนอแนะว่าควรจัดทำระบบคัดกรองเด็กและการส่งต่อเด็กที่มี ประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้มแข็งให้สถานศึกษา โดยเสนอให้มีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 1 ชุด และมีเจ้าหน้าที่ภายนอกคอยให้การช่วยเหลือ เบื้องต้น สพฐ.จะขยายผลโดยใช้หน่วยเฉพาะกิจดูแลช่วยเหลือนักเรียน (ฉกชน.) ของ สพฐ. และ ฉกชน.ประจำเขตพื้นที่การศึกษาฯ ดำเนินการก่อน และอนาคตหากโรงเรียนมีคณะกรรมการช่วยเหลือนักเรียนประจำโรงเรียนแล้วทั้งหมด จะทำงานช่วยเหลือกัน.
ไทยรัฐออนไลน์ วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ.2556

สพฐ.เลื่อนเปิดเทอมตามอาเซียน เริ่มปีการศึกษา 2557

สพฐ.เลื่อนเปิดเทอมตามอาเซียน เริ่มปีการศึกษา 2557

เมื่อวันที่ 26 ก.พ.นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการได้ลงนามเห็นชอบเลื่อนวันเปิดเทอมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จากเดิมวันที่ 16 พ.ค. เป็นวันที่ 10 มิ.ย. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ทั้งนี้สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ สพฐ.ได้ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ผู้แทนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเลื่อนเปิดสถานศึกษาสังกัด สพฐ.ให้เป็นไปตามปฏิทินของอาเซียน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่าการเลื่อนเปิดภาคเรียนไม่ได้กระทบต่อวิถีชีวิตนักเรียน โดยนักเรียน ม.6 จะเรียนจบ ม.6 ก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ขณะที่นักศึกษาฝึกสอน จะมีเวลาเตรียมตัวก่อนฝึกสอนประมาณ 10 วัน นอกจากนี้ยังมีการสำรวจความคิดเห็นจาก ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องกับการเลื่อนเปิดเทอมตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ สพฐ.จะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูว่าตารางการเลื่อนเปิดปิดภาคเรียนตามปฏิทินอาเซียนของ สพฐ. จะติดขัดกับปฏิทินอาเซียนของหน่วยงานอื่นหรือไม่